Saturday, September 17, 2011

Panna Cotta ราดซอสช็อคโกแลต


ภาษาอิตาเลี่ยนวันละคำ วันนี้ขอเสนอคำว่า Marrone
อ่านว่า มาร์-โร-เน (Stress คำว่า “โร”)
ภาษาไทยแปลว่า สีน้ำตาล
ภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Brown

*แถมให้อีกคำนึงค่ะ*
Blu อ่านว่า “บลู” ภาษาไทยแปลว่า สีน้ำเงิน, สีฟ้า
ภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Blue



Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley



สวัสดีพี่ๆ น้องๆ และท่านผู้อ่านที่น่ารักทุกท่าน
แม่มด 9W มาแล้วววว พบกันอีกครั้ง
โดยคราวนี้มีโจทย์ใหม่ค่ะ สีน้ำตาล หรือสีฟ้าค่ะ
ชื่อโจทย์ว่า My Color My dish with... Blue/Brown
จะเลือกสีหนึ่งสีใด หรือทั้งสองสีก็ได้



งานเข้าอีกแล้วค่ะพี่น้อง ทำสีน้ำเงิน สีฟ้านี่ยากจัง (สำหรับเอิง)
คิดไม่ออก ขอเอาสีน้ำตาลมาเป็นสีหลักดีกว่า

เมนูวันนี้เป็น “ของหวาน” สไตล์อิตาเลี่ยน คลาสสิค
คือ Panna Cotta
เพิ่มสีน้ำตาลเข้าไปคือ ซอสช็อคโกแลต
บวกสีน้ำเงิน (นิดหน่อย) คือ บลูเบอร์รี่


มารู้จัก Panna Cotta กันหน่อยนะคะ
มันคืออะไร? คือ ครีมผสมน้ำตาล และเจลาติน
นำไปแช่เย็นทำให้เนื้อเหมือนวุ้นดีๆ นี่เอง
มีต้นกำเนิดจากทางเหนือ ในเขต Piemonte
แต่เป็นที่นิยมไปทั้งประเทศอิตาลี (ไม่แพ้ทิรามิสุ)
นิยมรับประทาน กับ ซอสคาราเมล, ซอสช็อคโกแลต
ลูกเบอร์รี่ชนิดต่างๆ ซอสที่ทำจากผลไม้ ฯลฯ
รูปทรงที่นิยมคือ เป็นรูปทรงเหมือนถ้วยเล็กๆ ไม่สูงมาก
นิยมรับประทานเป็นอาหารหวาน หลังมื้อเที้ยง หรือ หลังมื้อเย็น





Smiley Smiley Smiley Smiley Smiley

สูตร (Classic Italian) Panna Cotta
ครีม 500 กรัม
แผ่นเจลาติน 3 แผ่น
น้ำตาลทรายขาว 150 กรัม
ผงวนิลา 1 ซอง (ประมาณ 3 กรัม)


*Note*
เอิงใช้ส่วนประกอบต้นฉบับสไตล์อิตาเลี่ยน
เคยทราบว่าแผ่นเจลาตินไม่ค่อยมีขายในบางประเทศ
(แต่ในอิตาลีนิยมมาก มีขายตามซุปเปอร์มาเก็ตทั่วไป)
สามารถใช้ผงเจลาตินแทนได้ค่ะ
(แผ่นเจลาติน 3 แผ่น ปริมาณจะเท่ากับผงเจลาติน 1 ช้อนชา)
แผ่นเจลาติน 1 แผ่น น้ำหนักประมาณ 0.1 Oz (2.83 grams)


อุปกรณ์ที่ต้องใช้ คือ พิมพ์ทำ Panna Cotta
นิยมใช้ถ้วยอลูมิเนียม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางปากถ้วย 7.3 cm
เส้นผ่าศูนย์กลางก้นถ้วย 5 cm ความสูงถ้วย 4 cm
(เป็นพิมพ์คลาสสิคของที่นี่ค่ะ ถ้าไม่มีใช้ถ้วยอื่นที่ขนาดใกล้เคียงกันแทนได้)


วิธีทำ
นำแผ่นเจลาตินไปแช่ในน้ำเปล่าประมาณ 15 นาที ตั้งทิ้งไว้

นำครีมมาใส่ในหม้อ ตั้งไฟอ่อนๆ
ค่อยๆ เติมน้ำตาลลงไป จนน้ำตาลละลายหมด
จากนั้นเติมผงวนิลาลงไป คนช้าๆ อย่าให้เนื้อครีมติดก้นหม้อ
เมื่อครีมเริ่มเดือด ดับไฟ

เมื่อแผ่นเจลาตินอ่อนตัวแล้ว (หลังจากแช่น้ำไว้ 15 นาที)
ให้ตั้งแผ่นเจลาตินขึ้นมา บีบน้ำเปล่าออก
จากนั้นนำแผ่นเจลาตินมาใส่ในหม้อที่มีส่วนผสมครีม
คนให้เข้ากันจนแผ่นเจลาตินละลายหมด

นำส่วนผสมไปเทลงในพิมพ์ Panna Cotta
ตั้งทิ้งไว้ให้เย็น แล้วจึงนำไปแช่ตู้เย็นอย่างน้อย 5-6 ชั่วโมง



เมื่อแช่ตู้เย็นตามเวลาที่กำหนดแล้ว
วิธีการเทส่วนผสมออก คือ น้ำถ้วยมาแช่น้ำร้อนประมาณ 2-3 นาที
คว่ำใส่จานแล้วเคาะเบาๆ เนื้อจะหลุดออกมาจากถ้วยอย่างง่ายดาย
จากนั้นจึงราดซอส หรือตกแต่งตามต้องการ
เสิร์ฟรับประทานได้ทันที อุณหภูมิที่นิยมคือเย็นนิดหน่อย หรืออุณหภูมิห้อง
(ไม่นิยมทานแบบเย็นจัดเหมือนไอศครีมค่ะ)




มาดูภาพส่วนผสม Panna Cotta กันค่ะ

















นำแผ่นเจลาตินไปแช่น้ำประมาณ 15 นาที

















ส่วนผสมของ ครีม น้ำตาล วนิลา ตั้งบนไฟอ่อน จนเข้ากันดี











จากนั้นนำส่วนแผ่นเจลาตินที่นิ่มแล้ว (หลังจากแช่ไว้ 15 นาที)
มาผสมกับส่วนผสมที่เป็นครีม คนให้เป็นเนื้อเดียวกัน





นำส่วนผสมมาเทลงในพิมพ์ Panna Cotta
นำไปแช่ตู้เย็นอย่างน้อย 5-6 ชั่วโมง











สำหรับส่วนผสมซอสช็อคโกแลต
แนะนำให้เตรียมเมื่อ Panna Cotta เซ็ตตัวเรียบร้อยแล้ว


ส่วนประกอบ “ซอสช็อคโกแลต”
Old fashioned chocolate sauce
ผงโกโก้ ½ ถ้วยตวง
นม 1 ถ้วยตวง
น้ำตาล 1 ถ้วยตวง
เนย 2 ช้อนโต๊ะ
วนิลา extract 1 ช้อนชา


วิธีทำ
นำนมไปต้ม ตั้งไฟอ่อนๆ เมื่อเริ่มเดือดให้ใส่น้ำตาลลงไป
รอจนน้ำตาลละลายหมด เติมเนยและวนิลา extract ลงไป

จากนั้น ร่อนผงโกโก้ช้าๆ ลงไปในหม้อจนหมด
ใช้ตะกร้อมือตีจนเนื้อเข้ากันดี จากนั้นให้ดับไฟ
ราดบน Panna Cotta เสิร์ฟรับประทานได้ทันที





ภาพส่วนผสม Chocolate Sauce















นำนมไปตั้งไฟอ่อนๆ ค่อยๆ เติมน้ำตาลจนละลายหมด
จากนั้นเติมเนย และวนิลาลงไป คนจนเนื้อเข้ากันดี




ร่อนผงโกโก้ลงไปในหม้อรวมกับสวนผสมอื่นๆ

















ในตะกร้อมือตีจนเนื้อเข้ากันดี

















นำพิมพ์ Panna Cotta ที่เซ็ตตัวเรียบร้อยแล้วมาแช่น้ำร้อน 2-3 นาที
จากนั้นนำมาเคาะเบาๆ ลงบนจาน เนื้อจะหลุดออกมาได้ง่าย




เตรียมส่วนผสมคือ Panna Cotta และซอสช็อคโกแลต

















ราดซอสช็อคโกแลตลงบน Panna Cotta
เอิงจัดลูกบลูเบอร์รี่เข้าไปด้วย เพิ่มสีน้ำเงินให้กับเมนูนี้



















Panna Cotta ราดซอสช็อคโกแลต
ประดับด้วยลูกบลูเบอร์รี่
เมนูนี้มากับ “สีน้ำตาล” และ “สีน้ำเงิน”













ทบทวนศัพท์วันนี้อีกครั้ง
Marrone อ่านว่า มาร์-โร-เน (Stress คำว่า “โร”)
ภาษาไทยแปลว่า สีน้ำตาล
ภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Brown

Blu อ่านว่า “บลู”
ภาษาไทยแปลว่า สีน้ำเงิน, สีฟ้า
ภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า Blue



ขอบคุณที่แวะมาเยี่ยมเยียน
แล้วพบกันใหม่กับโครงการ 9W กลางเดือนหน้า
พวกเรามีเมนูใหม่ๆ มาฝากกันอีกแน่นอนค่ะ





ปล. พี่ๆ น้องๆ สามารถรับข่าวสารอัพเดททาง Facebook
โดยเข้าไปที่เพจของ Diamondsky Blog ค่ะ

Diamondsky Blog

FB Page




ขอบคุณที่แวะมาทักทาย แล้วเจอกันใหม่บล็อกหน้าค่ะ

1 comment: