ภาษาอิตาเลี่ยน วันละคำ วันนี้ขอเสนอคำว่า T e a t r o
อ่านว่า เท-อา-โตร (Stress คำว่า “อา” )
ภาษาไทยแปลว่า โรงละคร
ภาษาอังกฤษตรงกับคำว่า
Theater (US English)
Theatre (UK English)
Teatro (เท-อา-โตร, Stress “อา”) คำเอกพจน์ แปลว่า โรงละครหนึ่งโรง
Teatri (เท-อา-ตริ, Stress “อา”) คำพหูพจน์ แปลว่า โรงละครหลายโรง
วันนี้ขอพาพี่ๆ น้องๆ ชาวบล็อกแกงค์ในชมละครเวทีกันค่ะ
เป็นละครเวทีในฉบับพิเศษ
คือนักแสดงจะพูดภาษาพื้นเมือง Milanese
เหตุที่ได้ไปชมเพราะคุณพ่อ คุณแม่ของสามีเป็นแฟนคลับ
ท่านชวนเราทั้งสอง (สามีและเอิง) ไปดูด้วย
คุณสามีอยากดูอยู่แล้ว เพราะเขาฟังรู้เรื่อง
แต่เอิงนี่สิ แค่ภาษาอิตาเลี่ยนก็ปาดเหงื่อแล้วค่ะ
ไม่เป็นไร ถือเป็นประสบการณ์ชีวิต ขอไปดูหน่อย อิอิ
ละครเวทีที่ไปดูมีชื่อว่า
Ch’el scusa, ma lu chi l’è
(Title เป็นภาษา Milanese)
คำแปล
ภาษาอิตาเลี่ยน Mi scusi, ma lui chi è?
ภาษาอังกฤษ Excuse me, but who is he?
ภาษาไทย “ขอโทษค่ะ แต่เขาคือใคร?”
(ขอแปลสามภาษาเลยนะคะ สนุกดี อิอิอิ)
เนื้อเรื่องย่อ
Luisa เป็นภรรยาของ Paolo ซึ่งอาศัยอยู่ในมิลาน
มาวันหนึ่งเธอเกิดอาการความจำเสื่อม จำสามีไม่ได้
สามีจึงเชิญคุณหมอชื่อ Alberto Spinelli มาที่บ้านเพื่อตรวจอาการ
Luisa เห็นคุณหมอก็ทักเป็นสามีของตนเอง สร้างความตกใจให้คุณหมอมาก
Paolo(สามี) และ Alberto(คุณหมอ) จึงวางแผนสลับตัวกัน
เพื่อทำการรักษา และช่วย Luisa ให้ความทรงจำกลับมา
เรื่องมาซับซ้อนตรงที่มีญาติสองคนมาเยี่ยมที่บ้าน
ทำเอาทั้งบ้านสับสน ทั้งตัวญาติ และ Luisa เอง
แต่ท้ายที่สุด ความก็แตกตรงที่ Luisa สารภาพกับหมอว่าเธอแกล้งป่วย
เพราะต้องการเรียกร้องความสนใจจากสามี
ได้ผลค่ะ คุณสามีกลับมาหวานซึ้ง เพราะรักภรรยามากเช่นกัน
The End
Ch’el scusa, ma lu chi l’è
เป็นละครเวทีฉบับบันเทิงนะคะ
มีมุขเฮฮา ขำๆ สำหรับคู่สามีภรรยา
เรื่องราวสนุกสนานมากค่ะ
(แม้จะฟังไม่รู้เรื่องทั้งหมดก็ตาม 555+)
มาดูภาพ Teatro STELLA กันค่ะ
ตัวละคร คุณหมอ Alberto (ใส่แว่น) และสามี Paolo (ใส่ชุดสีเทา)
ตัวละครเสริม คือ แม่ครัว คนทำความสะอาดบ้าน และคนรับใช้ผู้ชาย
Luisa ภรรยาที่ (แกล้ง) มีความทรงจำสับสน
ตัวละครทั้งสาม คือ คุณหมอ Alberto, ภรรยา Luisa และสามี Paolo
เมื่อญาติสองคนมาเยี่ยม ทำเอาทั้งบ้านสับสน
Luisa (ภรรยา) เริ่มงงตัวเอง เอ๊ะ ชั้นสับสน
ดอกไม้สวยๆ บนเวทีโรงละคร
ภาพของแถม
พระจันทร์เต็มดวง (แต่หาหมาป่าไม่เจอ อิอิ)
ถ่ายเมื่อคืนวันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2011
โบรชัวร์ ละครเวทีค่ะ ดูกันชัดๆ
มีคู่มือโปรแกรมการแสดง และประวัติโรงละคร
มีบทความที่สนับสนุนให้คนรุ่นใหม่มาดูกันเยอะๆ
ถือเป็นเรื่องที่ดีนะคะ เพราะเป็นการอนุรักษ์ภาษา วัฒนธรรมไปด้วย
สาระน่ารู้
ภาษา Milanese ส่วนใหญ่ใช้กันเฉพาะคนที่เกิด โต ในมิลาน
ต่างจากภาษาอิตาเลี่ยน มีคำคล้ายภาษาฝรั่งเศสหลายคำ
(อันนี้คุณพ่อของสามีบอกนะคะ เธอคล่องภาษาฝรั่งเศสด้วย)
ปัจจุบัน นิยมใช้กันแค่คนรุ่นเก่า ประมาณอายุ 50 ปีขึ้นไป
คนรุ่นใหม่ในมิลาน แทบไม่ค่อยใช้กันแล้วค่ะ
เกริ่นนิดนึงว่า ครอบครัวสามีของเธอเป็น Milanese แท้ๆ
ปกติเค้าไม่ใช้สำเนียงพื้นเมืองพูดกันในชีวิตประจำวันค่ะ
แต่จะใช้กันต่อเมื่อมีรวมญาติ เช่น ทานมื้อใหญ่คริสมาส อีสเตอร์ ฯลฯ
โดยเฉพาะคุณย่า เธอพูด Milanese รัวเป็นไฟ (แล่บๆ)
เจอกันครั้งแรกเอิงงงนิดๆ คุณย่าพูดอะไรคะ หนูฟังไม่รู้เรื่อง (แงๆๆๆๆ)
ตอนนี้ชินแล้วค่ะ เริ่มรู้จักคำบางคำ เอิงใช้บ้าง ได้รับเสียงฮือฮากันพอสมควร
ขำตัวเองนิดๆ ก๊ากกกกกส์
เรียนภาษาอังกฤษ อิตาเลี่ยน ตอนนี้ต้องมาเรียนภาษา Milanese ด้วยหรือเรา
เอาเป็นว่า อยากรู้แค่พอหอมปากหอมคอ
ไหนๆ มาเป็นสะไภ้อิตาเลี่ยนแล้ว ถือโอกาสศึกษาซะเลย อิอิ
ปล. ตอนนี้เอิงมี Facebook (Diamondsky Blog) แล้วนะคะ
สามารถติดตามอัพเดท โดยเข้าไปคลิก "Like" กันได้ค่ะ
Diamondsky Blog
FB Page
ขอบคุณที่แวะมาทักทาย แล้วเจอกันใหม่บล็อกหน้าค่ะ
No comments:
Post a Comment